ส่วนงานในมหาวิทยาลัย

สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
________________________________________

รู้จักสำนักงานสภามหาวิทยาลัย

OFFICE OF NAVAMINDRADHIRAJ UNIVERSITY COUNCIL

  เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2553 ขึ้นและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 จึงมีผลบังคับใช้เป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร” ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป โดยมีสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นหน่วยงานของรัฐอยู่ในกำกับของกรุงเทพมหานคร ไม่เป็นส่วนราชการ และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ ที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตออกมารับใช้สังคม กรุงเทพมหานคร และประเทศชาติอย่างแท้จริง

        ต่อมาปี 2556 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร” เป็น “มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” ตามความในพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครเป็นมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ.2556ตามความใน มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ.2553 ได้บัญญัติให้มหาวิทยาลัยอาจแบ่งส่วนงาน ดังนี้

 (1) สำนักงานสภามหาวิทยาลัย

 (2) สำนักงานอธิการบดี

 (3) คณะ

 (4) วิทยาลัย

 (5) สถาบัน

 (6) ศูนย์

         สำนักงานสภามหาวิทยาลัยเป็นส่วนงานลำดับที่ 1 ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติฯ มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในงานเลขานุการและงานสารบรรณ งานตรวจสอบภายใจ รวมทั้งสนับสนุนงานของสภามหาวิทยาลัย และภาระหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย มีหัวหน้าสำนักงานสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของส่วนงาน


_________________________________________________________________________________________________


ติดต่อสำนักงานสภามหาวิทยาลัย

เลขที่ 3 ชั้นที่ 7 สำนักงานอธิการบดี (วังสามเสน)

แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทรศัพท์

0 2244 3929

Email
council@nmu.ac.th



เว็บไซต์
https://sites.google.com/view/ouc-nmu/home


Facebook

-

Youtube
-

สำนักงานอธิการบดี
________________________________________

    

    สํานักงานอธิการบดี มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรบุคคล ธุรการ การเงิน การคลัง งบประมาณ พัสดุ ยุทธศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทะเบียนนักศึกษา วิเทศสัมพันธ์ นิติการ การติดตามประเมินผล การประกันคุณภาพ การส่งเสริมการวิจัย และการจัดทํารายงานประจําปีของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการดําเนินงานตามพันธกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทางด้านวิชาการ การวิจัย การบริการ วิชาการแก่สังคม งานกิจการนักศึกษา ตลอดจนการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม กีฬา ค่านิยมอันดีงามของไทยและวัฒนธรรมองค์กร และภาระหน้าที่อื่นตามที่อธิการบดีมอบหมาย ทั้งนี้ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ว่าด้วยการแบ่งหน่วยงานภายในของสํานักงานอธิการบดี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยสํานักงานอธิการบดีแบ่งหน่วยงานภายในเป็น 11 ฝ่าย มีหน้าที่ ดังนี้

(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 


มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานบริหารทั่วไป งานเลขานุการ งานสารบรรณงานประชาสัมพันธ์ งานวิเทศสัมพันธ์ งานดูแลอาคารสถานที่ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(2) ฝ่ายการคลัง


มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานการเงิน งานงบประมาณ งานบัญชี รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(3) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง งานทะเบียนประวัติและสิทธิประโยชน์ งานพัฒนาบุคลากร รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(4) ฝ่ายนิติการ 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานยกร่างข้อบังคับและระเบียบ งานตรวจร่างข้อบังคับระเบียบ กฎ และสัญญาต่าง ๆ งานการให้คําปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบ งานคดีและวินัย รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(5) ฝ่ายวิชาการ 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานบริการวิชาการ งานทรัพยากรการเรียนรู้ งานพัฒนาหลักสูตรและการสอน งานตําแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(6) ฝ่ายยุทธศาสตร์ 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานวางแผนพัฒนา งานประกันคุณภาพการศึกษางานบริหารความเสี่ยง รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(7) ฝ่ายกิจการนักศึกษา 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานกิจกรรมนักศึกษา งานสวัสดิการและการให้บริการนักศึกษา งานสภานักศึกษา งานส่งเสริมและทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(8) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานระบบเครือข่าย งานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งานบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ งานบริการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(9) ฝ่ายส่งเสริมการวิจัย 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานส่งเสริมการวิจัย งานวิเคราะห์ ติดตามประเมินผลโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย งานพิจารณาการให้ทุนวิจัย งานประสานความร่วมมือด้านการวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย งานให้คําปรึกษาโครงการวิจัย งานบริการฝึกอบรมด้านการวิจัย งานทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(10) ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานทะเบียนนักศึกษา งานรับนักศึกษางานทะเบียนประวัตินักศึกษา งานทะเบียนวิชาเรียน งานประมวลผลการศึกษา งานวัดผลการศึกษา งานสถิตินักศึกษางานบริการข้อมูลการศึกษา รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย

(11) ฝ่ายบริหารงานก่อสร้างบํารุงรักษาอาคารและพัสดุกลาง 

มีภาระหน้าที่รับผิดชอบงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุของมหาวิทยาลัย งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง งานบริหารโครงการก่อสร้างงานบํารุงรักษาอาคารสถานที่ และบริหารงบประมาณด้านการก่อสร้างและพัสดุ ยกเว้นงานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่หัวหน้าสํานักงานมอบหมาย


ติดต่อสำนักงานอธิการบดี

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
3 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. 10300

โทรศัพท์
โทร: 02 244 3846

Email
saraban-oop@nmu.ac.th

Website

https://president.nmu.ac.th/

Facebook
-

Youtube
-


คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
________________________________________

รู้จักคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

    วชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้าง มอบไว้เป็นสาธารณสถานแก่ประชาชนโดยให้เป็นที่พยาบาลผู้ป่วยไข้ ทั้งนี้ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า “วชิรพยาบาล” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ วชิรพยาบาลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีการใช้วชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ในชั้นคลินิก

    ภายหลังกรุงเทพมหานครได้มีแนวคิดที่จะเปิดโรงเรียนแพทย์เป็นของตนเอง วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครจึงได้รับการก่อตั้งขึ้นอยู่ภายใต้สังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๓๖ ทั้งนี้ เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้นมา จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รวม “วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร” และ “วชิรพยาบาล” เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล” (วพบ.) และเมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จึงได้เปลี่ยนเป็นคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นมา โดยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารทางด้านการศึกษา การควบคุมการสอน และการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตและบุคลากรทางการแพทย์ ทุกระดับ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหลายสาขา พัฒนาหลักสูตร และปรับปรุงการศึกษาทางการแพทย์ให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้า และวิจัยทางการแพทย์ การให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพแก่ประชาชน ด้านการบำบัด การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค และให้บริการทางวิชาการแก่สังคมตลอดจนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม กีฬา ค่านิยมอันดีงามของไทยและวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งภาระหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย

ติดต่อคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

681 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทรศัพท์
02-244-3000

Email
odecpr@nmu.ac.th

เว็บไซต์

https://www.vajira.ac.th/home

Facebook
-

Youtube
-


คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
________________________________________

รู้จักคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์

       คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เกิดจากการรวมวิทยาลัยพยาบาล 2 แห่งเข้าด้วยกัน คือ วิทยาลัยพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์วชิรพยาบาล และ โรงเรียนพยาบาลโรงพยาบาลกลาง สังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต เดิมเป็นสถาบันสมทบในมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เริ่มแรกก่อตั้งใช้ชื่อว่าวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ต่อมาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 

ประวัติคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์

        คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เดิมชื่อ " โรงพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล"
   ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตพยาบาล เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี
 


   
ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 อาจารย์อบทิพย์ แดงสว่าง อาจารย์ผู้ปกครองโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล และผู้วางหลักสูตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ระยะการศึกษา 4 ปี ซึ่งเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้หลักสูตรการศึกษา 4 ปี พบว่าสถานที่ของโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยมีความคับแคบ จึงมองหาสถานที่ที่เหมาะสม และพบสถานที่ดินติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งนั้นก็คือ วังวัฒนาที่ประทับเดิมของพลเรือตรี นายแพทย์หม่อมเจ้าถาวรมงคล ไชยยันต์ และหม่อมหลวงคลอง ไชยยันต์(สนิทวงศ์) น่าจะเป็นสถานที่เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล เพราะบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และสถานที่กว้างขวาง อีกทั้งใกล้กับแหล่งที่ฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพพยาบาล ท่านจึงเจรจาและขออนุมัติเพื่อซื้อที่ดินจากหม่อมหลวงคลอง ไชยยันต์ จำนวน 6 ไร่ 73 ตารางวา ปี พ.ศ. 2514 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาครั้งแรก เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลและผดุงครรภ์(เทียบเท่าอนุปริญญา) และเปลี่ยนชื่อเป็น " วิทยาลัยพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์วชิรพยาบาล

       ต่อมาโรงพยาบาลกลาง ประสบปัญหาการขาดแคลนพยาบาล จึงได้เปิดดำเนินการโรงเรียนพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ แห่งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่เลขที่ 514 ถนนหลวง แขวงเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 4 ไร่ 51 ตารางวา มีชื่อว่า "โรงพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยโรงพยาบาล" เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี 

        และต่อมาปี พ.ศ. 2515 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาเป็น "หลักสูตรการพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์"และเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยพยาบาลโรงพยาบาลกลาง"

        ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร มีความเห็นว่าวิทยาลัยฯ ทั้งสองแห่งดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเช่นเดียวกันและเป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครเหมือนกัน จึงได้รวมกิจการเข้าเป็นวิทยาลัยเดียวกัน สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และได้ขอพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามว่า "วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์" ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2519 

        ปีพ.ศ. 2531 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 120 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2532 และเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็นพยาบาลศาสตรบัณฑิต 

        ปี พ.ศ. 2536 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดลตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 111 ตอนพิเศษ 44ง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เรื่องการรับวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537 วิทยาลัยฯได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับในด้านหลักสูตรเพื่อให้ได้บัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ ความสามารถทางวิชาชีพพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2546 เป็นหลักสูตรที่วิทยาลัยฯ ได้พัฒนามาโดยตลอดและผ่านการรับรองหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านการเห็นชอบหลักสูตรจากสภาการพยาบาล เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับใน วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยให้โอน ภารกิจและงบประมาณของ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อคณะว่า "คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์" และได้มีประกาศจัดตั้งเป็นคณะอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช"

ติดต่อคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์

เลขที่ 131/5 ถนนขาว แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10300

โทร.

02 241 6500-9


Email
kuakarun@nmu.ac.th

เว็บไซต์
https://www.kcn.ac.th/th

Facebook
-

Youtube
-


วิทยาลัยพัฒนามหานคร
________________________________________

ประวัติศาสตร์แห่งวิทยาลัยพัฒนามหานคร “จุดเริ่มต้น” จากสถาบันพัฒนาเมือง


  เมื่อปี พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานคร ได้มีแนวคิดที่จะจัดตั้ง “มหาวิทยาลัย” ขึ้น เพราะเห็นว่าควรมีการนำเอาประสบการณ์จากการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานที่พบเห็นในแต่ละพื้นที่ และประสบการณ์ของมหานครกรุงเทพอันมีค่ายิ่ง มาแลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และเป็นรูปธรรม และประกอบกับ กรุงเทพมหานครยังคงขาดสถาบันที่ผลิตบุคลากรเพื่อพัฒนางานกิจการสาธารณะ โดยเฉพาะการบริหารจัดการเมือง (Urban Management)ดังนั้น เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นต้นแบบของการเรียนรู้ในลักษณะของการนำประสบการณ์จากการดำเนินการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม (Learning by doing) จึงได้ประกาศใช้ ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นการก่อตั้ง “สถาบันพัฒนาเมือง” ขึ้น อย่างเป็นทางการ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารและการพัฒนากรุงเทพมหานคร ภายใต้กรอบของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนเมือง โดยกำหนดเป็นส่วนราชการภายในสำนักผังเมือง ภายใต้การบริหารงาน ของผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเมือง และกำกับดูแลการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการสถาบันพัฒนาเมือง โดยมีชื่อเรียกว่า “สถาบันพัฒนาเมือง (สพม.)” (Urban Green Development Institute: URB-GREEN) ในระยะเริ่มต้นของการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเมืองได้มีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีชื่อเสียง และนักวิชาการหลากหลายสาขาเข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันฯ เช่น ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ สุขสำราญ ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย นายวัลลภ สุวรรณดี รองศาสตราจารย์ มานพ พงศทัต โดยมี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันชุดแรก มีนักวิชาการจากหลากหลายสาขา เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารสถาบัน เช่น ศาสตราจารย์ ดร. จรัส สุวรรณมาลา ศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองศาสตราจารย์ ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. การดี เลี่ยวไพโรจน์ รองศาสตราจารย์ ดร. บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย เป็นต้นการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร ในช่วงนั้นได้เน้นการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเมือง โดยเน้นดำเนินการหรือร่วมดำเนินการในการศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอย่างครบวงจร และแลกเปลี่ยนองค์ความด้านการพัฒนาเมืองในระดับนานาชาติ โดยผลงานสำคัญคือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้นักพัฒนาเมืองซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ เข้าอบรมเพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านการบริหารงานพัฒนาเมืองอย่างครบวงจรภายใต้หลักสูตรการอบรมผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง

“เปลี่ยนผ่าน” สู่การผลิตบัณฑิตเพื่อพัฒนาเมือง“…เมื่อกรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของกรุงเทพมหานครแล้ว ให้โอนสถาบันพัฒนาเมืองไปเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษานั้น…”ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. 2551 ข้อ 14ในเวลาต่อมา ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถาบันพัฒนาเมือง เมื่อกรุงเทพมหานครได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชขึ้นแล้ว จึงได้โอนย้าย “สถาบันพัฒนาเมือง” มาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย โดยได้จัดตั้งขึ้นเป็น “วิทยาลัยพัฒนามหานคร (วพม.)” (Institute of Metropolitan Development) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีภารกิจหลักในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวกับการพัฒนามหานครและเมือง ทำวิจัยและสร้างเครือข่ายภาคีการวิจัยร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาเมืองและมหานคร จัดทำคลังความรู้มหานครและเมือง รวมทั้งให้บริการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานอื่น โดยแรกเริ่มจากมีเป้าหมายในการเตรียมทรัพยากรสำหรับสร้างเมืองอย่างมีคุณภาพ โดยทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การฝึกอบรม การจัดทำคลังความรู้ ตลอดจนการสร้างเครือข่าย ประสานความร่วมมือ ในการพัฒนาวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองทั้งในประเทศและนานาชาติ และได้เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาเมือง เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมเมืองประยุกต์เพื่อการพัฒนาเมือง การบริหารจัดการเมือง การอบรมในสาขาเฉพาะทาง และการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ (KM) ในการบริหารจัดการเมืองด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตคนเมือง โดยในปี พ.ศ. 2559 ได้เปิดการสอนในหลักสูตร “วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง” ซึ่งถือเป็นหลักสูตรระดับปริญญาโทหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

จาก “ปทุมวัน” สู่ “ดุสิต”

     ในช่วง 5 ปีแรกของการก่อตั้ง วิทยาลัยพัฒนามหานคร ได้ใช้อาคารศรีจุลทรัพย์ ชั้น 19 ถนนบรรทัดทอง เขตปทุมวัน เป็นสถานที่ทำการจัดการเรียนการสอน โดยประกอบด้วยห้องเรียน ห้องประชุม มุมคลังความรู้ สำนักงาน และห้องพักอาจารย์ แต่เนื่องด้วยการจัดการเรียนการสอนในอนาคตอันใกล้ที่วิทยาลัยจะได้เริ่มการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี เพื่อประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารองค์กรที่ให้มีสถานที่ตั้งในบริเวณพื้นที่ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จนในราวเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 วิทยาลัยพัฒนามหานคร จึงได้ย้ายสถานที่ตั้งมายังสถานที่ตั้งปัจจุบัน ณ อาคารนวมินทร์ 1 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต

“ต่อยอด” ขยายการศึกษาสู่ระดับปริญญาตรี

      ภายหลังจากการเปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ในปี พ.ศ. 2562 วิทยาลัยพัฒนามหานคร ได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของมหานคร จากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ได้อนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีในสองสาขาวิชา ได้แก่ “หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการเมือง” และ “หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริการธุรกิจการบิน” โดยสาขาการบริการธุรกิจการบิน เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2562 และสาขาการบริหารจัดการเมือง เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2563 โดยวิทยาลัยพัฒนามหานคร ถือเป็นคณะวิชาหนึ่งของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่มีปณิธานตั้งมั่นที่จะเป็น “สถาบันวิชาการเพื่อการพัฒนามหานครและรับใช้สังคม”

  ติดต่อวิทยาลัยพัฒนามหานคร

  วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชอาคารนวมินทร์ 1    198 สามเสนซอย 13 ถนนสามเสนแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต            กรุงเทพฯ 10300

   โทรศัพท์
   02-241-3500 ต่อ 5760 (สำนักงานผู้อำนวยการ)

   02-241-3500 ต่อ 5758 (ฝ่ายวิชาการ)
Email

imd@nmu.ac.th 

เว็บไซต์
https://imd.nmu.ac.th/

Facebook
https://www.facebook.com/NavamindradhirajUniversity

Youtube
-







วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง
________________________________________

รู้จักวิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง

ประวัติความเป็นมา

          สภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้มีมติจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร
(Urban Community College of Bangkok)          ต่อมาสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2560 ได้อนุมัติให้วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานครเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง” (Urban Community Development College) และปรับโครงสร้างกรอบอัตรากำลัง โดยประกาศมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (ฉบับที่3) พ.ศ.2560 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 47 ง ลงวันที่ 5 มีนาคม 2561 ข้อ 4 (6)

ติดต่อวิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง

198 ซอยสามเสน 13 (ฝั่งราชวิถี) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล

เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทรศัพท์
02-241-3500 ต่อ5772

Email
ucdc@nmu.ac.th

เว็บไซต์
https://ucdc.nmu.ac.th/

Facebook
https://www.facebook.com/ucdcnmu

Youtube
-


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
________________________________________

     จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๖ กำหนดให้มหาวิทยาลัย เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา บริการวิชาการ ผลิตงานวิจัย สร้างและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์ การสาธารณสุข การบริหารจัดการเขตเมือง การปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนามหานคร การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม และกีฬา โดยคำนึงถึงประสบการณ์และความพร้อมในด้านต่าง ๆ  ที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร   เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มีการจัดการศึกษาหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ๒ หลักสูตรหลัก  ได้แก่ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และพยาบาลศาสตรบัณฑิต  คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องของส่วนงานเดิม ที่มีพื้นฐานทั้งด้านองค์ความรู้ การจัดการเรียน การสอน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ และสถานที่ฝึกงานสำหรับหลักสูตรอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยเอง และหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพจากมหาวิทยาลัยภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตเฉพาะบัณฑิตแพทย์และพยาบาล ยังไม่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในด้านการแพทย์ การสาธารณสุข การบริหารจัดการเขตเมือง การปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนามหานคร


          ปัญหาชุมชนเขตเมือง อันเกิดจากการขยายขนาดของเขตเมืองและแนวโน้มการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าสู่เขตเมือง รวมทั้งการพัฒนาทางเทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตเมืองเปลี่ยนไป ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ขึ้น เช่น ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้พิการในเขตเมือง สุขภาพจิตของประชาชนที่สื่อสารอยู่ในโลกสารสนเทศ ปัญหาทางสุขภาพของกลุ่มชนด้อยโอกาสในเขตเมือง ปัญหาจราจร ภัยพิบัติและความปลอดภัยในจากการพักอาศัยและทำงานอยู่ในอาคารสูง หรือแม้แต่ความเสี่ยงจากการทำงานในสถานพยาบาล ปัญหามลภาวะในอากาศ ฝุ่นละออง การปนเปื้อนของสารเคมีในอาหาร ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเมืองและบุคลากรผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติฉุกเฉินที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีองค์ความรู้เฉพาะเจาะจงในการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีปัญหาสาธารณภัยทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และอุบัติภัยที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อุทกภัยขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว เหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลจากนิคมอุตสาหกรรม เหตุการณ์ไฟไหม้บ่อขยะขนาดใหญ่ ความขัดแย้งที่นำไปสู่การชุมนุมทางการเมืองหรือภัยจากการก่อวินาศกรรมซึ่งเคยเกิดขึ้นในประเทศไทย และมีโอกาสขยายความรุนแรงจนถึงขั้นภัยพิบัติได้ ด้วยเหตุนี้เมืองมหานครขนาดใหญ่จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้านศาสตร์เขตเมืองและกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการปัญหาเหล่านี้ ทั้งด้านการป้องกัน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และการฟื้นฟูสภาพหลังเกิดปัญหาไว้รองรับปัญหาดังกล่าว
         มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของกรุงเทพมหานคร จึงมีบทบาทหน้าที่ในการผลิตบุคลากรสายปฏิบัติการเพื่อช่วยแก้ปัญหาของเมือง และทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ระบบบริการทางการแพทย์ในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Medical Service system) และการจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์ภัยพิบัติ ( Disaster Medicine) เพื่อสร้างคลังความรู้ที่จำเป็นและสามารถเสนอแนวทางในการรับมือภัยพิบัติเขตเมืองในรูปแบบต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยมุ่งหวังส่งเสริมให้ประชาชนในเขตเมือง และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติและสามารถปรับฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ดีหลังเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ (Urban Disaster Resilience) ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดตั้ง “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ” เพื่อรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายสหสาขาวิชาที่เน้นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านศาสตร์เขตเมืองโดยเฉพาะ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑ ประกาศมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้จัดตั้งส่วนงาน “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ” เป็นส่วนงานลำดับที่ ๗ ของมหาวิทยาลัย มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การจัดการศึกษาทั่วไป การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตและบุคลากร ในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ การวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ตลอดจนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม กีฬา ค่านิยมอันดีงามของไทย และวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งภาระหน้าที่อื่นตามที่อธิการบดีมอบหมาย


ที่ตั้ง : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
อาคารบริการวิชาการ เลขที่ 3 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

สำนักงานคณบดี เบอร์โทรศัพท์ 02-241-6568
Email : saraban-sht@nmu.ac.th , ​shtnews@nmu.ac.th
Website : http://sci.nmu.ac.th/






logo NMU
เลขที่ 3 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
Copyright © 2021 Navamindradhiraj University. All right reserved.