Q&A

15/03/2024


คำถาม
คำตอบ
   1.รายละเอียดในการรับสมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครได้ที่ https://regsection.nmu.ac.th/ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ฝ่ายทะเบียน โทร. 02 244 3000
  ต่อ 5839, 064 653 8054 หรือผ่าน Openchat : https://bit.ly/3PaLHHy หรือเฟสบุ๊คแฟนเพจ https://www.facebook.com/regnmu
  2. ปฏิทินการศึกษา / นักศึกษาใด
  ปีการศึกษา 2566 ดูได้ที่ลิงค์ https://drive.google.com/file/d/1akbl4krJp2_ulzbjCfmQNO F0Vh8nJKmw/view
  3. รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยได้อย่างไร
  ดูรายละเอียดตำแหน่งที่เปิดรับและสามารถสมัคร ได้ที่ https://jobs.nmu.ac.th/
  4. ต้องการประชาสัมพันธ์โครงการ หรือเชิญชวนต่างๆ ในเพจมหาวิทยาลัยแจ้งได้ที่ใด
  หากต้องการประชาสัมพันธ์ผ่านทางมหาวิทยาลัย ให้ทำหนังสือเรียนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ส่งมาที่อีเมล saraban@nmu.ac.th
  5. สอบถามรายละเอียดกู้ กยศ
  ติดต่อฝ่ายกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี โทร. 064-653-8478 , 02-244-3000 ต่อ 5838 หรือผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ https://www.facebook.com/StudentAffairsNMU
  6. รับสมัครอบรมภาษาจีน HSK ระดับ 1 ได้อย่างไร
  สามารถสอบถามอบรมภาษาจีน HSK ระดับ 1 ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/navamindradhiraj.cn/ จะมีเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรคอยบริการให้คำแนะนำ
  7. รถรับส่งนักศึกษาและบุคลากร รับ-ส่งช่วงเวลาใดบ้าง
  
  🚌 บริการรับส่งนักศึกษาจากสถานีรถไฟฟ้า MRT สิรินธร
  🕐เวลาการรับส่ง 🚌
  ช่วงเช้า เริ่ม 06.00 น. / 07.00 น. / 08.00 น. จุดรับที่ MRT สิรินธร ช่วงเย็น เริ่ม 16.30 น. / 17.30 น. / 18.30 น.
จุดรับที่ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
📍เส้นทางการรับส่งมี 3 จุดดังนี้
  1. สถานีรถไฟฟ้าสิรินธร (แยกบางพลัด) บริเวณหน้า Brix Condominium
  2. คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
  3. อาคารทีปังกรรัศมีโชติ คณะแพทยศาสตรวชิรพยาบาล 📆เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2566


คำถาม
คำตอบ
  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดอบรมสามารถเบิกจ่ายจากระเบียบอะไรและเบิกได้มื้อละกี่บาท
  ตามระเบียบมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชว่าด้วยหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดงานและการเดินทางไปปฏิบัติงานพ.ศ 2559 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2561 บัญชีแนบท้ายระเบียบดังกล่าวกำหนดอัตราค่าอาหารและเครื่องดื่มในการฝึกอบรมหากเป็นการฝึกอบรมภายในมหาวิทยาลัยอัตราค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มไม่เกิน 70 บาทต่อคนต่อมื้อหากเป็นการจัดอบรมภายนอกมหาวิทยาลัยอัตราค่าอาหารบ้างและเครื่องดื่มไม่เกิน 100 บาทต่อคนต่อมื้อ
   ระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารหลังจากฝ่ายการคลังได้รับเรื่องแล้วไม่จำเป็นต้อง
  ตามระเบียบมหาวิทยาลัยนวมินทราชาธิราชว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับเงินการเก็บรักษาเงินการเบิกเงินการจ่ายเงินและการควบคุมดูแลการจ่ายเงินพ.ศ 2559 ข้อ 62 วรรคแรก ใบขอเบิกเงินหรือเอกสารประกอบใบขอเบิกเงินรายใดไม่ถูกต้องในสาระสำคัญให้ผู้ตรวจใบขอเบิกเงินทักท้วงเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้เบิกได้แก้ไขให้ถูกต้องภายใน 5 วันทำการนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการ  ทักท้วง นั้นหากไม่สามารถแก้ไขให้ทันตามกำหนดดังกล่าวได้และเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรผู้มีอำนาจอนุมัติใบขอเบิกตามข้อ 58 อาจพิจารณาให้ขยายเวลาการแก้ไขใบขอเบิกเงินดังกล่าวตามที่เห็นสมควรได้หากข้อผิดพลาดในสาระสำคัญนั้นเกิดจากการปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งแต่ส่วนงานมีข้อผูกพันที่ต้องเบิกจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ให้ผู้ตรวจใบขอเบิกแจ้งหน่วยงานผู้เบิกเพื่อรายงานข้อบกพร่องต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาทางการ
  หลังจากตรวจสอบเอกสารแล้วมีการแก้ไขตามข้อ 3. ข้างต้น ฝ่ายผู้เสนอต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลากี่วัน
  ตามระเบียบมหาวิทยาลัยนวมินทราชาธิราชว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับเงินการเก็บรักษาเงินการเบิกเงินการจ่ายเงินและการควบคุมดูแลการจ่ายเงินพ.ศ 2559 ข้อ 63 การตรวจใบขอเบิกและการอนุมัติใบขอเบิกให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการนับแต่วันถัดจากวันรับใบขอเบิก ในกรณีที่ใบขอเบิกมีเหตุหักทวงเมื่อได้รับคืนใบขอเบิกเงินที่แก้ไขแล้วให้ดำเนินการตรวจและอนุมัติใบขอเบิกให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการนับแต่วันถัดจากวันรับคืนใบขอเบิกเงิน
  เมื่อมีการแก้ไขเอกสารเรียบร้อยแล้วตามข้อ 4 ข้างต้นต้องเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
  ตามระเบียบมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับเงินการเก็บรักษาเงินการเบิกเงินการจ่ายเงินและการควบคุมดูแลการจ่ายเงิน พ.ศ. 2559 ข้อ 74 บัญญัติว่าให้ฝ่ายการคลังดำเนินการให้พร้อมจ่ายเงินโดยเร็วและเป็นไปตามข้อตกลงกับเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินหลังจากได้รับหลักฐานการเบิกจ่ายครบถ้วนถูกต้องแล้วทั้งนี้อย่างช้าไม่เกิน 3 วันทำการ
  การส่งเอกสารเบิกจ่ายค่าไปอบรมกับหน่วยงานภายนอกต้องแนบเอกสารหลักฐานอะไรบ้างเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
  1.หนังสือขออนุมัติบุคคลในการอบรม
  2.ใบลงทะเบียนอบรม
  3.ใบแจ้งหนี้หรือประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม
  4.หนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายค่าฝึกอบรม
  5.เอกสารแหล่งเงินประกอบการเบิกจ่าย
  การขอยืมเงินเพื่อไปใช้ในงานราชการควรส่งเรื่องภายในกี่วัน
  ตามระเบียบมหาวิทยาลัยนวมินทราชาธิราชว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการทดลองจ่ายการยืมเงินการส่งใช้การควบคุมและการติดตาม เงินทดลองจ่ายและเงินยืม พ.ศ. 2560 ข้อ 12 (1) ให้กู้ยืมทำบันทึกขออนุมัติยืมเงินก่อนถึงเวลาใช้เงินไม่น้อยกว่า 7 วันเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติตามข้อ 11 ผ่านผู้บังคับบัญชาแล้วผ่านฝ่ายการคลังของส่วนงานพร้อมสัญญายืมเงินรวมทั้งเอกสารประกอบอื่น (ถ้ามี) เช่นโครงการที่ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้วเป็นต้น


คำถาม
คำตอบ
   การสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดำเนินการอย่างไร และจ่ายเงินสมทบใน อัตราเท่าใด
  การสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะต้องเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งพ้นทดลองปฏิบัติงานแล้ว ตามข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สมาชิกจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยหักจากเงินเดือนในอัตรา ร้อยละ 4 – 15 ของเงินเดือน ตามแต่ ความประสงค์ และมหาวิทยาลัยจะจ่ายสมทบให้ในอัตราร้อยละ 4 ของเงินเดือน
  คะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ TEC – W ที่มหาวิทยาลัยจัดสอบสามมารถนำมาใช้ ในการประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ได้หรือไม่
  สามารถนำมาเป็นทักษะในการประเมินเพื่อแต่งตั้งได้ เกณฑ์การประเมินทักษะเพื่อใช้ในการแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทสนับสนุน (ฉบับที่ 2)
ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ กำหนดให้คะแนนสอบภาษาอังกฤษ TEC – W ระดับที่ 1 อยู่ในคะแนน 20 – 39 ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ www.hr.nmu.ac.th
  การขอหนังสือรับรองเงินเดือน  ดำเนินการอย่างไร
  1.กรอกรายละเอียดข้อมูลให้ครบถ้วน

  2.กรอกผ่านจะมีอีเมล์ตอบกลับไปที่ผู้ขอรับหนังสือรับรองฯ
  3.รอเจ้าหน้าที่ดำเนินการภายใน 3-5 วันทำการ
  4.ดำเนินการเสร็จแล้วจะติดต่อกลับไปยังผู้ขอรับหนังสือรับรองฯ


คำถาม
คำตอบ
  ช่องทางการร้องเรียนของมหาวิทยาลัย มีช่องทางใด
  สามารถดำเนินการผ่านเว็บไซต์ www.nmu.ac.th ได้ 3 ทาง คือ
  1.สายตรงอธิการบดี
  2.ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  3.รายงานความเสี่ยง
  การเสนอเรื่องให้ฝ่ายนิติการ สำนักงานอธิการบดีตรวจสอบ ใช้ระยะเวลาดำเนินการภายในกี่วัน

ฝ่ายนิติการ สำนักงานอธิการบดีมีแนวทางภาระหน้าที่ เกณฑ์ภาระงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานมาตรฐานของนิติกร ฝ่ายนิติการ สำนักงานอธิการบดี ดังนี้
  1. ยกร่างข้อบังคับฯ ระเบียบฯ 1 เรื่อง/ฉบับ ใช้ระยะเวลา 15 วันทำการ
  2. ตรวจร่างสัญญา 1 เรื่อง/ฉบับ ใช้ระยะเวลา 3 วันทำการ   
  3. ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย รวมทั้งตอบข้อหารือเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติงานและแนวปฏิบัติทางกฎหมายที่ถูกต้อง 1 เรื่อง/ฉบับ ใช้ระยเวลา 10 วันทำการ ภาระหน้าที่ เกณฑ์ภาระงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานมาตรฐานอื่น ๆ ของนิติกร สามารถ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ law.nmu.ac.th และไปที่ช่อง “ภาระหน้าที่ของฝ่ายนิติการ”
ภาระหน้าที่ เกณฑ์ภาระงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานมาตรฐานอื่น ๆ ของนิติกร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ law.nmu.ac.thและไปที่ช่อง “ภาระหน้าที่ของฝ่ายนิติการ”


คำถาม
คำตอบ
  การลงนามในแบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ผู้มีส่วนร่วมที่ปรากฏชื่อในผลงานทางวิชาการต้องลงนามในแบบแสดงหลักการการมีส่วนร่วมทุกคนหรือไม่
  กรณีผลงานทางวิชาการที่มีผู้ร่วมงานหลายคน โดยผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) และผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) ควรให้ผู้ร่วมงานลงนามรับรองการ มีส่วนร่วมในผลงานนั้นด้วย เนื่องจากเจตนารมณ์ในการกำหนดให้แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการต้องให้ผู้ประพันธ์อันดับแรกและผู้ประพันธ์บรรณกิจลงนามนั้น เพื่อเป็นการรับรองบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานและความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงานของผู้ร่วมงานทุกคนว่าทำในส่วนใด อย่างไร และข้อมูลที่ผู้ขอระบุนั้นถูกต้องตามความเป็นจริง ดังนั้น หากเป็นผลงานที่ผู้ขอกำหนดทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ประพันธ์อันดับแรก และผู้ประพันธ์บรรณกิจ จึงต้องมีผู้ร่วมงานลงนามรับรองในแบบตามความเป็นจริงด้วย
  (อ้างอิงจากเอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566)
และการลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการแต่ละเรื่องเมื่อได้ลงนามแล้วจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หากตรวจสอบพบภายหลังว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมไม่ตรงกับความเป็นจริง จะถือว่าการกระทำของผู้นั้นเข้าข่ายผิดจริยธรรมไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ โดยให้สถาบันอุดมศึกษาสอบหาข้อเท็จจริงและดำเนินการทางวินัยต่อไป
  (อ้างอิงจากเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. 2564)
  ผลการประเมินการสอนโดยคณะอนุกรรมการประเมินผลการสอน มีอายุไม่เกินกี่ปี
  มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ประเมินผลการสอน
  (อ้างอิงจากมติที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ)
  การนับวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ อย่างไร
  วันที่แต่งตั้งนับจากวันที่มหาวิทยาลัยได้รับเรื่อง พร้อมทั้งเอกสารขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
  (อ้างอิงจากข้อบังคับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ว่าด้วยตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ พ.ศ. 2562)
  ในกรณีที่อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการร่วมกับแพทย์ประจำบ้าน (Resident) ที่มีชื่ออาจารย์เป็นลำดับแรก จะมีผลต่อการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการหรือไม่อย่างไร
  ในหลักการไม่แนะนำให้ทำ โดยคณะกรรมการฯ มีคำแนะนำว่าควรจะต้องตกลงกับนักศึกษาก่อนว่าเมื่อได้ผลการศึกษาแล้วควรจัดทำเป็นผลงานวิจัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์เฉพาะทาง ในกรณีนี้ผลงานจะระบุชื่อนักศึกษาเป็นชื่อลำดับแรก และอาจารย์เป็นชื่อลำดับที่สอง หากแพทย์ประจำบ้าน (Resident) สำเร็จการศึกษาโดยทำรายงานเสนอราชวิทยาลัยแล้วแต่มิได้ดำเนินการเขียนผลงานวิจัยให้แล้วเสร็จ อาจารย์ต้องดำเนินการกรณีนี้ต่อ จึงจะเขียนชื่ออาจารย์เป็นลำดับแรกได้ ทั้งนี้อาจารย์ต้องระบุบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ในผลงานนั้นๆ ให้ชัดเจน
  (อ้างอิงจากมติที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ)
  กรณีผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัย ที่ยังไม่มีหมายเลข DOI หรือมีหมายเลข DOI แล้ว แต่ยังไม่กำหนด Volumn และเลขหน้าจะสามารถยื่นผลงานลักษณะดังกล่าวเพื่อพิจารณาขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่
  ผลงานวิจัยที่ได้หมายเลข DOI โดยมีกำหนดตีพิมพ์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังไม่กำหนด Volumn และเลขหน้า สามารถนำมายื่นเป็นผลงานเพื่อพิจารณาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนไปพลางก่อน แต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งนั้น จะต้องเป็นวันที่เอกสารครบถ้วนสมบูรณ์คือ มีหมายเลข DOI มีการกำหนด Volumn และเลขหน้าแล้ว จึงจะนับว่าเป็นวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
  (อ้างอิงจากมติที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ)
  กรณีการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ และผู้บรรยายพิเศษ มีความแตกต่างกันอย่างไร และอำนาจการแต่งตั้งเป็นของใคร
  อาจารย์พิเศษ หมายถึง อาจารย์ที่รับการแต่งตั้ง และรับผิดชอบการเรียนการสอนวิชาหนึ่งวิชาใดหรือบางส่วนของวิชาหนึ่งวิชาใดในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และต้องไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย อำนาจการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ เป็นของอธิการบดีหรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมายเป็นผู้ลงนามในคำสั่ง ทั้งนี้รายชื่อผู้ที่สมควรรับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำส่วนงานก่อน ในกรณีที่คณะหรือวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้บรรยายพิเศษ โดยมิต้องรับผิดชอบการสอนวิชาหนึ่งวิชาใดตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ให้คณบดีหรือผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาและลงนามเชิญผู้บรรยายพิเศษ โดยไม่ต้องทำคำสั่งแต่งตั้ง
  (ทั้งนี้รายละเอียดให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ว่าด้วยการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ พ.ศ. 2557)
  อัตราการจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารโครงการบริการวิชาการ ซึ่งในแต่ละโครงการมีจำนวนรายรับที่ไม่เท่ากัน การจ่ายเงินควรจ่ายในอัตราเท่าใด
  ผู้บริหารโครงการ รวมถึง หัวหน้าโครงการ และผู้ช่วยโครงการ รวมกันจ่ายได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด
  (อ้างอิง : รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562)


คำถาม
คำตอบ
งานแผนพัฒนามหาวิทยาลัย
  แผนมหาวิทยาลัย หาข้อมูลได้จากที่ไหน
  สามารถดูได้ที่ลิงก์ https://strategic.nmu.ac.th/เอกสารดาวน์โหลด/
งานประกันคุณภาพ
  EdPEx คืออะไร
  EdPEx ย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ“เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ” เป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทำให้มอง/คิด บริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด) และช่วยในการพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืนจากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบัน
  แม้เกณฑ์ MBNQA จะมี 3 ฉบับ คือ ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (TQA) ภาคการดูแลสุขภาพ (HA) และภาคการศึกษา (EdPEx) แต่ทั้ง 3 ฉบับเป็นเรื่องเดียวกัน มีหลักการเหมือนกันทุกประการ จะแตกต่างก็เพียงศัพท์เฉพาะสาขาเท่านั้น เช่น แทนที่จะใช้คำว่า “ลูกค้า” เพียงอย่างเดียว ในเกณฑ์ EdPEx จะใช้คำว่า “ผู้เรียน” สำหรับภาคธุรกิจ “ผู้รับบริการ” คือ “ลูกค้า” ภาคสุขภาพ “ผู้รับบริการ” คือ “ผู้ป่วย”
งานบริหารความเสี่ยง
  เขียนรายงานความเสี่ยงได้ที่ไหน
  สามารถแจ้งได้ที่ลิงก์ https://bit.ly/2RKSa2m


คำถาม
คำตอบ
  กำลังเข้าเรียนปี 1 ที่มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สามารถยื่นกู้ กยศ. ได้เลยมั้ยคะ
  ได้คะ ในช่วงเดือนมิถุนายน ยื่นในระบบตามกำหนดการปฎิทินการศึกษานะคะและประสานแจ้งผุ้ปฎิบัติงาน กยศ ของคณะที่น้องสังกัดด้วยค่ะ
  ขั้นตอนการย้ายสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษาต้องทำอย่างไรบ้าง
  ขั้นตอนมีดังนี้คะ 1. ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล ที่เว็บไซต์ของ สปสช (https://www.nhso.go.th/)
  หัวข้อตรวจสอบสิทธิ
     1.1 กรอกเลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และระบุตัวอักษรตามภาพที่ปรากฏ
     1.2 สิทธิต้องเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  2. ดาวโหลดแบบคำร้อง https://drive.google.com/file/d/1g7BeQaGoI8PFee4QsflV3HzvdyqjEq6Z/view?usp=sharing
  3. กรอกแบบคำร้องเฉพาะส่วน ที่ 1
  4. ส่งแบบคำร้อง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdthEdml_K6ubWwnBGo9umRnXw_WeOPql0NBEWCscxxbmJH_g/viewform
  ขอสอบถาม มหาวิทยาลัยมีงานพิเศษให้นักศึกษาทำระหว่างศึกษา และสามารถติดต่อที่ใดได้บ้างค่ะ
  ทางมหาวิทยาลัยได้ประชาสัมพันธ์งานพิเศษให้ทราบผ่านช่องทางดังนี้
  - เพจ Facebook ฝ่ายกิจการนักศึกษา องค์การนักศึกษา สภานักศึกษา
  - กรณีนักศึกษาต้องการติดต่อเจ้าหน้าที่ สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี ห้อง TWP – 101 ค่ะ
ระบบในการทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  ชุมชนเป้าหมายของมหาวิทยาลัยฯ ในการทำกิจกรรมประกอบด้วยชุมชนใดบ้างค่ะ
  มหาวิทยาลัยได้กำหนดชุมชนในเขตดุสิตเพื่อนำร่องจำนวน 10 ชุมชนได้แก่
  1.ชุมชนท่าน้ำสามเสน
  2. ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ
  3. ชุมชนสวนอ้อย
  4. วัดคอนเซ็ปชัญ
  5.หมู่บ้านนักบุญฟรังซิสเซเวียร์
  6. ชุมชนซอยโซดา
  7.ชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
  8. ชุมชนวัดโบสถ์สามเสน
  9. ชุมชนศรีย่านซอย 3
 10.ชุมชนแฟลตสิริสาสน์
  อาคารวชิรานุสรณ์ เปิดให้เข้าชมวันเวลาอย่างไรบ้างครับ
  สำหรับผู้ต้องการเข้าชมอาคารวชิรานุสรณ์ (เป็นหมู่คณะ) สามารถทำหนังสือขอเข้าชมเพื่อเรียน คณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล เพื่อพิจารณาอนุญาตการเข้าชม โดยขอให้กำหนดวัน เวลา และชื่อผู้ติดต่อ แจ้งมาที่งานสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์ สำนักงานคณบดี โทร. 022443688, 022443703 อีเมล odecpr@nmu.ac.th
  มหาวิทยาลัย มีกิจกรรมอะไรที่ร่วมมือกับชุมชนบ้างค่ะ
  กิจกรรมที่มหาวิทยาลัย ให้ความร่วมมือกับชุมชน ได้แก่ กิจกรรมเรียนรู้พหุวัฒนธรรมรอบรั้วมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช การร่วมทอดกฐินสามัคคีประจำปี (วัดสวัสดิ์วารีสีมาราม, วัดโบสถ์สามเสน, วัดประสาทบุญญาวาส) กิจกรรมบริการฉีดวัคซีน ฉีดไมโครชิป ทำหมันสุนัข และแมว ในชุมชนเป้าหมาย โดยร่วมกับสำนักงานสัตวแพทย์ สาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร


คำถาม
คำตอบ
  การติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถนำมาติดตั้งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเองได้หรือไม่
  ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินการ เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนว่า โปรแกรมที่ขอติดตั้งนั้น เป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ฟรี และไม่เป็นภัยคุกคามแก่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือถ้าเป้นโปรแกรมลิขสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมีลิขสิทธิ์นั้นหรือไม่ หากไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ไว้ จะไม่สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยตระหนักถึงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
  การลืมรหัสผ่านระบบสารสนเทศต้องดำเนินการอย่างไร
  ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมีหลายระบบ ระบบที่สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ด้วยการกรอก Username เพื่อขอตั้งรหัสผ่านใหม่ได้คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการบริการการศึกษา REG และระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ mis.nmu.ac.th เลือกเมนู ลงชื่อเข้าใช้ระบบ กรอก Username และกดปุ่มลืมรหัสผ่าน ระบบจะส่งข้อความไปทาง Email เพื่อให้ผู้ใช้งาน ตั้งรหัสผ่านใหม่ ส่วนระบบสารสนเทศอื่นนอกเหนือจาก 3 ระบบ ต้องแจ้งขอรีเซ็ตรหัสผ่านมาที่ เว็บไซต์ it.nmu.ac.th/fixit หรือ Line Bot ของ IT จะมีเจ้าหน้าที่ให้บริการตลอดเวลาทำการ
  เครื่องพิมพ์ (Printer) ไม่สามารถสั่งพิมพ์ได้ แก้ไขเบื้องต้นเองได้อย่างไร
 ให้ดำเนินการดังนี้
  1. ตรวจสอบสาย LAN ว่ามีสถานะไฟตรงเครื่องพิมพ์สีส้ม เขียวกระพริบหรือไม่ หากไม่มีให้ตรวจสอบว่ามีการเสียบสาย Lan ระหว่างเครื่องพิมพ์กับเต้าเสียบสาย LAN หรือไม่
  2. หากมีการเสียบและมีสถานะไฟ ส้ม-เขียวกระพริบแล้ว หากยังสั่งพิมพ์งานไม่ได้ ให้ลองปิดเครื่องพิมพ์ และเปิดขึ้นใหม่
  3. หากทำตาม 2 ขั้นตอนแล้วยังไม่สามารถสั่งพิมพ์งานได้ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ IT ผ่านเว็บไซต์ it.nmu.ac.th/fixit หรือ Line Bot ของ IT จะมีเจ้าหน้าที่ไปช่วยแก้ไขปัญหาให้ครับ
  เพราะเหตุใดที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ทุกอาคารจึงไม่มี WIFI ชื่อ NMU-WIFI ซึ่งจะสามารถใช้งานได้อัตโนมัติเมื่อเดินเข้าพื้นที่
  เนื่องจากคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มีระบบสารสนเทศที่สำคัญคือระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ Security อย่างเข้มข้น จึงยังไม่สามารถให้บริการได้ แต่ในอนาคตอาจจะมีการพิจารณาดำเนินการ
  ใครบ้างมีสิทธิใช้งาน Office 365
  อาจารย์และนักศึกษาทุกคนมีสิทธิใช้งาน โดยสามารถขอความประสงค์เพื่อการใช้งานได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดี ห้อง TWP 801


คำถาม
คำตอบ
  ขั้นตอนการทุนวิจัยภายใน (เงินอุดหนุน กทม.) สามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง?

  สามารถดูลายละเอียดได้ที่
  https://shorturl.asia/kloLb
  ขั้นตอนการขอรับทุนสนับสนุนนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยจะต้องทำอย่างไร

  สามารถดูลายละเอียดได้ที่
  https://shorturl.asia/n2PjT
  สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะดำเนินการวิจัยในมนุษย์มีอะไรบ้าง
  วิจัยควรคำนึงถึง เหตุผล และหลักวิทยาศาสตร์ ของงานวิจัย วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของงานวิจัย ความเปราะบางของผู้เข้าร่วมการวิจัย ความเสี่ยงและประโยชน์ ที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับ กระบวนการชี้แจงและขอความยินยอมผู้จะเข้าเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยและเอกสารที่ใช้เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการวิจัย ต้องมีข้อมูลและภาษาที่กระชับ ครบถ้วน ชัดเจน และถูกต้องตามหลักจริยธรรม
  บุคคลใดในโครงการวิจัย ที่จำเป็นต้องผ่านการอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)
  สำหรับโครงการวิจัยในมนุษย์ EC/IRB แต่ละแห่ง จะมีข้อกำหนดเรื่องการผ่านการอบรมที่แตกต่างกัน โดยหลักการ หัวหน้าโครงการ รวมถึงผู้ร่วมวิจัยในโครงการ ควรผ่านการอบรมด้านการปฏิบัติการทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practicc(GCP)และหรือ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ Human Research Ethics)

  ผู้วิจัยทำวิจัยเสร็จสิ้น  แล้ว ขณะรอส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ ใบรับรองของ EC (COA) ปกติมีอายุ 1 ปี ได้หมดอายุแล้ว ผู้วิจัยต้องขอต่อใบรับรองจริยธรรม หรือไม่
  โครงการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว ไม่มีการดำเนินการใดๆ กับอาสาสมัครผู้รับการวิจัยอีก จึงไม่ต้องขอต่อใบรับรอง EC (COA)
  Verbal consent ทำอย่างไร
  การให้ความยินยอมด้วยวาจา จะเหมือนกับการให้ความยินยอมแบบ (by action) ผู้วิจัยสามารถขอให้ EC อนุญาตได้โดยไม่ต้องระบุเหตุผลที่สมควร (justift) อาจมีกรณีดังนี้ 
  เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรจำนวนมาก งานวิจัยมีความเสี่ยงน้อย เมื่อส่งเอกสารข้อมูลพร้อมแบบสอบถามไปให้ หากผู้รับเอกสารยินดีเข้ารับการวิจัย ก็ตอบแบบสอบถาม ส่งหลับให้ผู้วิจัยโดยตรง ผู้รับการวิจัยเป็นกลุ่มเปราะบางมีความเสี่ยงที่หากความลับถูกเปิดเผยจะเกิดความเสียหายกับอาสาสมัครอย่างร้ายแรง เช่น เป็นผู้ติดยาเสพติด, ผู้ค้ายา, เป็นสตรีอาชีพพิเศษ, เป็นนักโทษ, เป็นโรคร้ายแรงสังคมรังเกียจฯลฯ ผู้วิจัยจะขอยกเว้นการลงนามของอาสาสมัครผู้รับการวิจัย หรือผู้รับการวิจัยไม่ต้องการลงนาม เนื่องจากจะเป็นหลักานหรือเป็นการยอมรับสถานภาพของตนเอง กรณีเหล่านี้หากจะต้องมีการติดตามและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังอาสามัครผู้รับการวิจัย ผู้วิจัยควาให้อาสาสมัครใช้นามแฝงแทนชื่อจริง


คำถาม
คำตอบ
นักศึกษาใหม่
  การค้นหารหัสประจำตัวนักศึกษาใหม่ต้องทำอย่างไร
  นักศึกษาใหม่ สามารถค้นหารหัสประจำตัวได้ตามขั้นตอน ดังนี้
  1. นักศึกษาสามารถค้นหาโดยไปที่ https://reg.nmu.ac.th/registrar/home.asp
  2. เลือกเมนู ค้นหารหัสนักศึกษาใหม่ ด้วยชื่อ หรือสกุลของตนเอง
  ดูคู่มือเพิ่มเติม https://fb.watch/psRcGI3mr4/
  การขอรับใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา ต้องดำเนินการอย่างไร
  เมื่อชำระเงินไปแล้ว 1 วันทำการ นักศึกษาใหม่สามารถขอรับใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม  การศึกษาได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
  1. จุดบริการฝ่ายทะเบียนและประมวลผล : ห้อง TWP-101 ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี   
  2. ไปรษณีย์ : โดยส่งคำร้องออนไลน์ผ่านระบบ REG เลือกเมนู คำร้องออนไลน์ จากนั้นเลือกคำร้อง ขอรับใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา
นักศึกษาปัจจุบัน
  การขอเอกสารทางการศึกษาต้องดำเนินการอย่างไร
  นักศึกษาปัจจุบัน สามารถขอเอกสารทางการศึกษาได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
  1. จุดบริการฝ่ายทะเบียนและประมวลผล : ห้อง TWP-101 อาคารสำนักงานอธิการบดี
  2. ออนไลน์ : โดยส่งคำร้องออนไลน์ผ่านระบบ REG เลือกเมนู คำร้องออนไลน์ จากนั้นเลือกคำร้องที่ต้องการ และเลือกการรับเอกสารเป็นรูปแบบรับด้วยตนเอง/ไปรษณีย์/หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (ผ่านอีเมล์)
  การพิมพ์ใบชำระเงินค่าธรรมเนียมต้องดำเนินการอย่างไร
  นักศึกษา สามารถพิมพ์ใบชำระเงินค่าธรรมเนียมได้ผ่านระบบดังนี้
  1. ระบบ REG โดยเข้าสู่ระบบและไปที่เมนูผลการลงทะเบียน จากนั้น คลิกที่ รูปเครื่องปริ้นเตอร์
  2. ผ่านแอพพลิเคชั่น reg โดยไปที่ภาระค่าใช้จ่าย เลือกปี/ภาคการศึกษา จากนั้นไปที่มุมซ้ายจะมี QR CODE เพื่อนำไปชำระเงิน ทั้งนี้นักศึกษาสามารถนำไปชำระเงินค่าธรรมเนียมได้ทั้งผ่านธนาคารกรุงไทย เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือแอพพลิเคชั่นการเงินทุกธนาคาร
  การชำระเงินค่าเอกสารทางการศึกษาเกิน สามารถขอเงินคืนได้ไหม
  นักศึกษา ไม่สามารถขอรับเงินคืนค่าธรรมเนียมเอกสารทางการศึกษาได้ แต่ทั้งนี้สามารถแจ้งความประสงค์เปลี่ยนแปลงเอกสารที่ขอรับได้
  การขอเอกสารประกอบการเบิกค่าเล่าเรียน สามารถขอได้อย่างไร
  สามารถดาวน์โหลดได้ที่ หน้าแรกของระบบ REG เลือกเมนู คำสั่ง/ประกาศ/เอกสารค่าธรรมเนียม จากนั้นเลือก ประกาศค่าธรรมเนียมการศึกษา ที่นักศึกษาถือปฏิบัติ
  สามารถตรวจสอบสถานะในการชำระเงินได้จากตรงไหน
  การชำระเงินจะสามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบ REG และแอพพลิเคชั่น reg ที่เมนู ภาระค่าใช้จ่าย
  ซึ่งข้อมูลจะแสดงหลังจากชำระเงินไปแล้ว 1 วันทำการ
  สามารถตรวจสอบสถานะในการชำระเงินได้จากตรงไหน
  การชำระเงินจะสามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบ REG และแอพพลิเคชั่น reg ที่เมนู ภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งข้อมูลจะแสดงหลังจากชำระเงินไปแล้ว 1 วันทำการ
  การเผยแพร่ผลการศึกษาล่าช้า เกิดจากอะไร
  ทะเบียนและประมวลผล มีกำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาประมวลผลผลการศึกษาภายในหลังจากวันสุดท้ายของการสอบ 2 สัปดาห์ โดยมีกระบวนการดังนี้
  1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาประมวลผลการศึกษา
  2. ภาควิชาประชุมรับรองผลการศึกษา
  3. เสนอส่วนการศึกษาเพื่อรวบรวมเข้าที่ประชุมส่วนงาน
  4. รับรองผลการศึกษาโดยส่วนงาน/หลักสูตร (ถ้ามี)
  5. เสนอหัวหน้าส่วนงานลงนามใบส่งผลการศึกษา
  6. ส่งฝ่ายทะเบียนและประมวลผล เพื่อยืนยันผลการศึกษา
  ทั้งนี้ นักศึกษา สามารถติดตามความคืบหน้าของผลการศึกษาได้ผ่านระบบติดตามความคืบหน้าผลการศึกษา : https://bit.ly/3Hd4s9u
  สามารถค้นหาได้ด้วยรหัสวิชา 7 หลัก​
  การขอเอกสารทางการศึกษาหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้วจะดำเนินการอย่างไร
  การลงทะเบียนเพิ่มลดจะสามารถทำได้ 2 ช่วงเวลา
  1. ก่อนเปิดภาคการศึกษา สามารถดำเนินการในระบบออนไลน์ได้ตามช่วงเวลากำหนด
  2. หลังเปิดภาคการศึกษา ให้นักศึกษาดำเนินการ ดังนี้ #คู่มือการลงทะเบียนหลังเปิดภาคการศึกษา
  1 . ดาวน์โหลดคำร้องดังนี้ เพิ่มลด : https://bit.ly/3s7iMwh เรียนซ้ำ : https://bit.ly/43Z0fPL ล่าช้าหลังเปิด : https://bit.ly/3qrBZZ0
  2. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
  3. ประสานอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา และอาจารย์ที่ปรึกษา
  4. นำส่งฝ่ายทะเบียนและประมวลผล ได้ทั้งจุดให้บริการหรือผ่านลิงก์ https://bit.ly/3riI1r3
  5. ตรวจสอบผลการลงทะเบียนเรียนทุกครั้งหลังส่งใบคำร้อง ดูเพิ่มเติม https://youtube.com/shorts/_l7QNZUiKzk?si=5mokaP769ngctLhY
ศิษย์เก่า
  การขอเอกสารทางการศึกษาหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้วจะดำเนินการอย่างไร
  ผู้ที่สำเร็จการศึกษา/ศิษย์เก่า สามารถดาวน์โหลดเอกสารแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ https://alumni.nmu.ac.th/ หรือกรณีต้องการให้รับรองเอกสารสามารถขอเอกสารทางการศึกษาได้ที่ - ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล สำนักงานอธิการบดี ห้อง TWP-101 อาคารสำนักงานอธิการบดี - ขอผ่านระบบออนไลน์ https://forms.gle/71aUu5zcKHiiWYRFA และติดตามสถานะเอกสารได้ที่ : https://bit.ly/3TAlNAD


คำถาม
คำตอบ
  การส่งเรื่องให้ฝ่ายบริหารงานก่อสร้างบำรุงรักษาอาคารและพัสดุกลาง ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องดำเนินการล่วงหน้ากี่วัน?
  - ในกรณีวิธีเฉพาะเจาะจง จะต้องใช้ระยะเวลาล่วงหน้า 20 วัน
  - ในกรณีวิธีคัดเลือก จะต้องใช้ระยเวลาล่วงหน้า 2 เดือน
  - ในกรณี e-bidding จะต้องใช้ระยเวลาล่วงหน้า 4 เดือน
  - ในกรณี e-market จะต้องใช้ระยเวลาล่วงหน้า 4 เดือน
  การจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องแต่งตั้งกรรมการ TOR, ราคากลาง, พิจารณาผล(ถ้ามี) และตรวจรับ จำนวนกี่คน?
  - ในกรณีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ใช้กรรมการ 1 คน
  - ในกรณีวงเงินเกิน 100,000 บาทขึ้นไป ใช้กรรมการ 3 คน
  หากต้องการความรวดเร็วในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการอย่างไร?
  - ตรวจสอบแหล่งเงินงบประมาณจากแหล่งใด และจำนวนเงินที่ต้องใช้มีเพียงพอหรือไม่ เช่น
  1. กรณีเงินอุดหนุนรัฐบาลและเงินอุดหนุนกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินประจำงวดแล้วหรือไม่
  2. กรณีเงินรายได้ส่วนงาน มีรายได้เพียงพอหรือไม่
  3. กรณีค่าใช้จ่ายโครงการ ให้ตรวจสอบว่าโครงการดังกล่าว ได้รับการอนุมัติแล้วหรือไม่ และ รายการที่ จะจัดซื้อจัดจ้างมีรายละเอียดอยู่ในโครงการหรือไม่
  4. มีรายละเอียดขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของที่ต้องการ วัสดุและครุภัณฑ์หรือไม่    5. แจ้งรายชื่อกรรมการ TOR, ราคากลาง, พิจารณาผล(ถ้ามี) และตรวจรับ พร้อมข้อมูล ดังนี้
  - วัน เดือน ปีเกิด
  - เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน
  - หมายเลขโทรศัพท์
  - Email เพื่อใช้ในการลงระบบการจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลาง (E-GP)


  1.ห้องสมุดตั้งอยู่ที่ใด
ห้องสมุดนวมินทราธิราชมีที่ตั้งให้บริการทั้งหมด 3 ที่ดังนี้
  1. ห้องสมุด คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ชั้น 3 อาคารการุณยสภา
  2. ศูนย์การเรียนรู้สกลวรรณากร คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ชั้น 4 อาคารพัชรกิติยาภา
  3. ศูนย์การเรียนรู้ชั้น 8 อาคารทิวากรวงศ์ประวัติ คุณสามารถเลือกใช้บริการได้ตามสะดวก
  2.เวลาให้บริการ
  1. ห้องสมุด คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
  วันจันทร์ - วันศุกร์ 08:00 - 20:00 น.
  วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 08:00 - 16:00 น.
  ปิดบริการวันหยุดนักขัตฤกษ์
  2. ศูนย์การเรียนรู้สกลวรรณากร คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ชั้น 4 อาคารพัชรกิติยาภา
  เปิดทุกวัน 08:00 - 24:00 น.
  ปิดบริการวันหยุดนักขัตฤกษ์
  3. ศูนย์การเรียนรู้ชั้น 8 อาคารทิวากรวงศ์ประวัติ
  วันจันทร์ - วันเสาร์ 08:00 - 18:00 น.
  ปิดบริการวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  3.ช่องทางในการติดต่อ
  facebook : https://www.facebook.com/nmulibrary
  email : nmu_library@nmu.ac.th
  4.ยืมหนังสือได้กี่เล่ม
  นักศึกษาปริญญาตรี 10 เล่ม 15 วัน
  นักศึกษาปริญญาโท/แพทย์ประจำบ้าน 15 เล่ม 30 วัน     
  อาจารย์/แพทย์ 30 เล่ม 45 วัน
  พยาบาล/บุคลากร 20 เล่ม 45 วัน
  5.ค่าปรับวันละกี่บาท
  ค่าปรับ 5 บาท / เล่ม / วัน
สมาชิกจะได้รับแจ้งเตือนทาง e-mail ก่อนถึงกำหนดส่งคืน 3 วัน และก่อนวันคืน 1 วัน สามารถยืมต่อได้ 3 ครั้ง (ครั้งนึงจะเพิ่มตามสิทธิที่ได้รับ) โดยหนังสือที่ต้องการยืมต่อต้องไม่เลย กำหนดส่งและต้องไม่มีค่าปรับค้างชำระ ทำได้เฉพาะภายในระยะเวลาก่อนวันคืนเท่านั้น สามารถยืมต่อได้ด้วยตัวเองผ่านหน้าเว็บห้องสมุด หรือ Line Official NMU Library
  6.บุคคลภายนอกสามารถใช้ห้องสมุดได้หรือไม่
  บุคคลภายนอกสามารถเข้าใช้ห้องสมุดฯ ได้โดยไม่เสียค่าบริการ


logo NMU
เลขที่ 3 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
Copyright © 2021 Navamindradhiraj University. All right reserved.