
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (ชื่อเดิม มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 มี.ค. ที่สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ถนนรามอินทรา กม.5-6 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม และประธานคณะกรรมการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล พร้อมด้วย นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายหู จื้อผิง รองผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ(Center for Language Education and Cooperation:CLEC) กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน และว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกันทำพิธีเปิดป้ายสถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะ จากนั้นสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) ทำพิธีเจิมป้ายสำนักงาน CLEC บริเวณชั้น 2 อาคารราชพฤกษ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า พิธีเปิดป้ายสถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะ ซึ่งถือว่าเป็นความสัมพันธ์สูงสุดระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ที่นับตั้งแต่ประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ได้มาประชุมที่เอเปค ซึ่งตรงนี้ก็มีนโยบายสนับสนุนอาชีวะสู่เวทีโลก ประเทศไทยได้ขานรับนโยบายนี้อย่างดียิ่งในการเปิดเรื่องเศรษฐกิจด้วยอาชีวะ อาชีวะถือว่ามีความสำคัญ การที่จะสร้างบ้านสร้างเมือง สร้างความมั่งคั่งความร่ำรวยด้วยการเรียนการศึกษาอาชีวะ เพราะอาชีวะมีการเรียนการศึกษาครบทุกมิติในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวโรงแรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ ตรงนี้เราจำเป็นอย่างยิ่งต้องให้เด็กไทยได้รับการศึกษาที่ดีเพื่อตอบโจทย์กับสังคมในเวทีโลก ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมการเรียนการศึกษาด้านอาชีวะถือว่าเป็นอันดับ 1 ของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยเราจะต้องร่วมมือกับประเทศจีนเพื่อทำให้เด็กไทยได้รับการเรียนการศึกษาที่จะประกอบสัมมาอาชีพในการทำงานให้ประสบความสำเร็จให้เกิดความมั่งคั่งความร่ำรวยด้วยมืออาชีวศึกษา และวันนี้นี้ที่ได้มีพิธีเปิดป้ายสถาบันแห่งนี้ขึ้นมาก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เป็นสัญลักษณ์ที่ดี เป็นการเริ่มต้นที่ดี เป็นการนับหนึ่งที่ดี ซึ่งบุคลากรทุกคนก็มีความพร้อมที่จะพัฒนาการเรียนการศึกษาอาชีวะให้เดินหน้าต่อไป

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติกล่าวโอวาทและเป็นประธานเปิดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศฯ แก่บัณฑิตใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “บทบาทพยาบาลกับความคาดหวังของกรุงเทพมหานคร” ณ ชั้น 8 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กิจกรรมปัจฉิมนิเทศวันสำเร็จการศึกษาแก่บัณฑิตใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประกอบด้วยให้ความรู้ และให้แนวคิดในการสร้างแรงบันดาลใจ โดยพูดถึงปัญหาเรื่องสาธารณสุขเป็นเรื่องใหญ่ของกรุงเทพฯ เนื่องมาจาก กทม. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการรักษาพยาบาลปฐมภูมิ รวมถึงศูนย์สาธารณสุข 69 แห่ง โรงพยาบาล 11 แห่ง และมหาวิทยาลัย 1 แห่ง ซึ่งต้องการบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ปัจจุบันเรายังขาดบุคลากรทางการแพทย์อยู่พอสมควร การมีสถาบันพยาบาลจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง สำหรับทาง กทม. หน้าที่หลักคือการดูแลบุคลากรเหล่านี้ให้เขามีความสุขในชีวิต เชื่อว่าถ้ามีความสุข มีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสำเร็จในหน้าที่การงาน เขาเหล่านั้นจะมาดูแลประชาชนได้ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

โดย Thailand Toray Science Foundation (TTSF) มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จัดโครงการฝึกอบรมการเพิ่มศักยภาพด้านการวิจัย Target Research Interesting Group (TRIG)

Facebook Live: Opinter Mahidol ⏰ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 13.30 - 15.30 น.

โครงการพัฒนาและบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เรื่อง "การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ด้วยเกณฑ์ ก.พ.อ. 2564" โดย ศาสตราจารย์ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช กรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ธนันดา ตระการวนิช ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวทยาลัยนวมินทราธิราช เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2565 ด้วยระบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom